Skip to content

All posts by kas

ถูกไล่ออกจากงานต้องจัดการชีวิตอย่างไรบ้าง

หลังจากที่กันยาเข้ามา… ครอบครัวที่สงบสุขของธาดา อรุณา และนุดาก็ลุกเป็นไฟ ในช่วงแรกเหมือนว่าธาดาจะคิดว่าตัดสินใจถูกต้องที่เลือกกันยา แต่ท้ายที่สุดแล้วเขาก็พบความจริงว่า ผู้หญิงอย่างอรุณาต่างหากที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง เพียงแต่มันสายไปเสียแล้ว..

ธาดาโดนคุณสุชาติชวนไปปั่นจักรยานหลังจากที่กันยาก่อเรื่องในงานเลี้ยง แต่ความจริงคือการให้ออกแบบเนียนๆซะงั้น กลายเป็นคนตกงานที่ไม่มีรายได้ เหมือนกับสิ่งที่เลวร้ายที่เขาเคยทำไว้จะย้อนกลับมาตามทันซะงั้น

ถ้าลองมองดูในแง่ชีวิตจริง หากเรื่องนี้เกิดขึ้นกับธาดา เชื่อว่า สิ่งทีต้องทำคือการจัดการชีวิตให้เรียบร้อย โดยเฉพาะเรื่องของการเงินและการจัดการภาษี เช่น

1. ค่าชดเชยออกจากงานตามกฎหมาย อย่าลืมเช็คด้วยว่าได้หรือเปล่า อย่ามัวแต่อึ้ง เพราะถ้าธาดาถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด แปลว่ามีสิทธิได้รับเงินชดเชยสูงสุดถึง 300 วันและถ้าเงินที่ได้รับไม่เกิน 300,000 บาทถือว่าได้รับยกเว้นภาษีด้วยจ้า

แต่จากเนื้อเรื่องแล้วดูเหมือนว่าธาดาจะไม่ได้ค่าชดเชยสักเท่าไร เนื่องจากน่าจะเป็นการบังคับให้ลาออกเองเพื่อรักษาประวัติไว้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นกลยุทธ์ของนายจ้างที่เลือกวิธีนี้ เพื่อไม่ให้ต้องจ่ายเงินชดเชยนั่นเองครับ

2. ประกันสังคมควรรีบต่อ เพราะชีวิตที่รออยู่อาจจะไม่สวยงาม ยิ่งถ้ามีกันยาอยู่ด้วย เราจะเห็นว่าธาดาเจอปัญหาอีกมากมายให้รำคาญใจ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยถ้ายังหางานใหม่ไม่ได้จริงๆ อย่าทิ้งให้รอเก้อ รีบไปต่อประกันสังคมตามมาตรา 39 ในฐานะคนที่ลาออกจากงานแล้วมาประกันตัวเองแทน เพราะมันมีสิทธิประโยชน์ที่เราอาจจะต้องใช้ในภายหลัง

3. จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ดี ถ้าหากมองว่ามีเงินพอใช้ ไม่จำเป็นต้องเอาออกมาก็ได้
แต่ให้หาทางจัดการประหยัดเงินที่ต้องจ่ายภาษีก้อนนี้แทน โดยเลือกวิธีการโอนไปที่ใหม่ (ถ้าหางานใหม่ได้) หรือไป RMF ก็ดีตามโครงการ PVD To RMF เพื่อจะได้ลดภาษี และเงินต้นไม่หาย เพราะส่วนใหญ่เวลาเอาออกมามักจะมีเรื่องให้ใช้จ่ายเสมอแหละ

แต่ถ้าต้องเอาออกมาจริงๆ ลองดูว่าทำงานเกิน 5 ปีไหม เพราะว่าจะได้รับสิทธิแยกคำนวณภาษีสำหรับสิทธิประโยชน์ของเงินก้อนนี้ (เสียภาษีน้อยกว่า) ตรงนี้จะได้เปรียบคนที่ทำงานไม่เกิน 5 ปี เพราะถ้าทำงานยังไม่ถึง 5 ปี ตรงนี้ต้องเอามารวมคำนวณภาษีเหมือนเงินเดือนจ้า

 

ถ้าใครชอบบทความนี้แล้วล่ะก็ อย่าลืมมาช่วยกันเป็นกำลังใจให้พรี่หนอมได้ง่ายๆ ฟรีๆ แถมมีคุณค่าทางใจให้มีแรงทำเนื้อหาต่อไปสะดวกช่องทางไหน ไปกดติดตามกันเลยจ้า

รีวิวแอป : To-Do-List แอปจัดตารางชีวิต

 

แอป To do list เป็นแอปจัดตารางเวลา ตัวหนึ่งที่ทางเราชื่นชอบตัวหนึ่ง ด้วยความสามารถในการจัด task ที่ละเอียดถึงขึ้นจัด task ตามเวลาแต่ละวันได้ แค่ Version Free ความสามารถก็มากมายพอสำหรับผู้ใช้งานแบบง่าย ๆ อย่างเราให้งานได้แล้ว สำหรับ To do list มีเพียงเมนูภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่สามารถพิมพ์ภาษาไทยเข้าไปได้ และรองรับทั้ง IOS, Andriod, Chrome, Safari

 

Feature

  • ทำ Task กำหนดล่วงหน้าได้
  • สร้าง Group Task หรือ Project ได้
  • ใส่สีได้ Project ได้ 12 สี
  • ตั้งเตือนแบบ Notification ได้
  • มีทั้งระบบ IOS,Andriod,WEB
  • เมื่อตั้งเวลาแอพจะจัดเรียงให้อัตโนมัติ
  • ถ้ารายการไหนเกิน Due มีปุ่ม Reschedule ให้
  • ทำ Filters ได้เอง
  • เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยน email เปลี่ยนพาสเวิร์ต
  • ตั้ง achieve แต่ละวันได้
  • แชร์ Project ร่วมกันได้
  • Seach Task ได้

 

Version Premium

  • รองรับ 15+ platforms
  • ใส่ label, comment, calendar ได้
  • อัพโหลดไฟล์ บันทึกเสียง set Location ได้
  • เปลี่ยนสี Theme ได้ 10 สี
  • ตั้งกลุ่ม Task ได้

 

To Do List เป็น App อีกตัวหนึ่งที่ใช้ได้ดีทีเดียว สำหรับคนที่มีตารางชีวิตที่ยุ่งเหยิง ทั้งเรื่องงานนอกบ้าน งานในบ้าน หรือใครจะจัดตารางกิ๊ก ก็สุดจะแล้วแต่ละคนเลย

สำหรับวิธีการใช้งานก็ง่ายแสนง่าย ทำได้โดยการ ล็อกอินผ่าน Facebook, Google หรือผ่าน email

มาดูหน้าตาของ App กันบ้าง เมื่อเปิด App ขึ้นมาก็จะเจอหน้าตาสะอาด ๆ แบบนี้

วิธีใช้ก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่กดปุ่ม + ที่อยู่ตรงล่างขวาก็จะสามารถเพิ่มรายการได้อย่างง่ายดาย

สำหรับเวอรชั่นพรีเมี่ยมคุณสามารถซื้อได้ในราคา 29$ต่อปี หรือประมาณ 900 บาทต่อปี

นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชั่น Business ที่สามารถจัดการตารางงานเป็นทีมได้ในราคา 29$ต่อปีต่อ user

Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.todoist

IOS : https://itunes.apple.com/th/app/todoist-organize-your-life/id572688855?l=th&mt=8

Desktop : https://todoist.com/

วิธีลดความเสี่ยงในการเสียภาษีแบบง่าย ๆ

เพียงแค่เรายื่นภาษีให้ตรงเวลา นอกจากลดความเสี่ยงที่จะเจอพี่สรรพากร ยังลดเบี้ยปรับที่ต้องจ่ายได้อีกด้วยนะ

ทุกวันนี้มีหลายคนกลัวการยื่นภาษีว่าไม่เคยยื่นจะมีปัญหา หรือยื่นไปแล้วจะถูกตรวจสอบย้อนหลังไหม? เลยเอาข้อคิดเตือนใจเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

คือหลักของกฎหมายภาษีบ้านเรานั้น มอบหน้าที่ให้ประชาชนที่ต้องเสียภาษีมีหน้าที่ยื่นภาษีโดยการประเมินข้อมูลของตัวเอง ซึ่งถ้าประเมินไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นภาษี เจ้าหน้าที่สรรพากรถึงจะมีอำนาจมาตรวจสอบต่ออีกทีหนึ่ง

ดังนั้นการยื่นภาษีจึงเป็นการลดความเสี่ยงในการเสียภาษีแบบง่ายๆครับ เพียงแค่ ยื่นภาษี ต่อให้ยื่นไม่ถูกต้อง เราก็จะได้สิทธิ

1. ลดเบี้ยปรับที่ต้องเสียลด 100% ทันที เพราะอำนาจกฎหมายให้ปรับได้สูงสุดที่ 1 เท่าของภาษี (ถ้าไม่ยื่นปรับ 2 เท่า)

2. ลดระยะเวลาในการตรวจสอบย้อนหลังลงไป 5-8 ปี เพราะอำนาจกฎหมายให้ตรวจสอบได้ 2 ปี สูงสุดไม่เกิน 5 ปี (ถ้าไม่ยื่นตรวจได้ 10 ปี)

เห็นไหมครับว่าเพียงแค่ยื่นภาษี ความกังวลใจและปัญหาที่เราจะเจอก็น้อยลงทันทีค่ะ

ดังนั้นถ้ามีคำถามว่า อยู่ๆมา ยื่นภาษีจะถูกตรวจสอบย้อนหลังไหม? คำตอบน่าจะเป็นว่าถ้าโดนโอกาสที่จะเสียภาษีก็น้อยกว่าไม่ยื่นแน่นอนค่ะ

ป.ล. 1 ระยะเวลา 7 วัน คือระยะเวลาในการออกหมายเรียกเชิญมาตรวจสอบนะครับ โดยกฎหมายให้อำนาจว่าต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันค่ะ

ป.ล. 2 ถ้าใครอยากอ่านกฎหมายเพิ่มเติม ลองดูที่มาตรา 19 – 26 ของประมวลรัษฏากรนะค่ะ

E-Tax Invoice By E-mail คืออะไร?

 

 

หลายคนคงเคยได้ยิน (หรืออาจจะยังไม่เคยได้ยิน) เรื่องของ E-Tax invoice by E-mail มาบ้างแล้วว่ามันคืออะไร วันนี้ KAS ก็จะมาเล่าโดยคร่าว ๆ ว่าจริง ๆ แล้วคืออะไร มีข้อดีอย่างไร และต้องทำอย่างไรบ้าง ผ่านบทความนี้กันนะคะ

 

E-Tax invoice by E-mail คือ

การจัดทำใบกำกับภาษีรวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ให้อยู่ในรูปของอิเล็คทรอนิกส์ (E-Tax invoice) ที่มีการลงลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์ (Electronic signature) แล้วทำการส่งผ่านระบบกลางของ สพธอ. (ETDA) เพื่อประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยจดหมายอิเลิกทรอนิกส์ (E-mail) โดยข้อดีของมันก็มีไม่ใช่น้อยเลยค่ะ

ข้อดีคือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถลดต้นทุนเกี่ยวกับการจัดทำ จัดเก็บและ จัดส่งใบกำกับภาษีได้ เนื่องจากเลือกได้ว่าไม่ต้องจัดทำและจัดเก็บในรูปแบบกระดาษ แต่จัดทำและจัดเก็บในรูปไฟล์อิเล็คทรอนิกส์แทน และไม่ต้องทำการจัดส่งเอกสารในรูปกระดาษให้ลูกค้าแล้ว เพราะส่งผ่านอีเมล์ได้เลย และสามารถใช้ประโยชน์ได้เหมือนใบกำกับภาษีที่ออกเป็นกระดาษได้ทุกประการค่ะ นอกจากนี้กรมสรรพากรยังเปิดให้ทดลองใช้และเลือกใช้ตามระบบที่เหมาะสมอีกด้วย

 

มีข้อกำหนดอย่างไร

  1. เป็นผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี (ตั้งแต่ปีภาษี 2558 เป็นต้นไป)
  2. ยื่นคำขอเป็นผู้จัดทำ ส่งมอบและจัดเก็บใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ตาม แบบ ก.อ.01 สามารถดูขั้นตอนการสมัครได้ที่นี่ “ขั้นตอนการสมัคร” ครับ
  3. ไม่มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษี ไม่มีประวัติการออกหรือใช้ใบกำกับภาษีปลอมหรือใบกำกับที่ออกโดยไม่ถูกต้องตามหลักของกฏหมาย

วิธีจัดทำและส่งมอบใบกำกับภาษี

  1. ใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์ ต้องเป็นไฟล์ประเภท PDF Excel หรือ Words (.pdf, .xls, xlsx, .doc, .docx) แต่วันที่ 1 ก.ค. 2561 เป็นต้นไปใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์ต้องจัดอยู่ในรูปแบบของ PDF/A-3 เท่านั้น
  2. ใบกำกับภาษี 1 ฉบับต้องจัดทำเป็นไฟล์ 1 ไฟล์เท่านั้น
  3. ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 3MB
  4. ไฟล์ต้องไม่ถูกเข้ารหัส หรือใส่พาสเวิร์ด
  5. ผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) ใช้อีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับกรมสรรพากร ส่งอีเมล์แนบไฟล์ใบกำกับภาษี โดยส่งให้ผู้ซื้อ (ระบุได้ 1 อีเมล์เท่านั้น) และสำเนาถึง (E-mail CC) ระบบกลางของ สพธอ. (ETDA) หรืออีเมล์ [email protected]
  6. อีเมล์ 1 ฉบับสามารถส่งใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์ได้เพียง 1 ฉบับเท่านั้น
  7. หัวข้ออีเมล์ ต้องมีรูปแบบและลำดับอย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น ต้องการส่งใบกำกับภาษีลงวันที่ 12 มกราคม 2561 เลขที่ใบกำกับภาษี INV2018010001 ต้องระบุหัวข้ออีเมล์เป็น [12012561][INV][INV2018010001] ซึ่งลักษณะของการตั้งหัวข้ออีเมล์จะต้องมีวงเล็บปีกกา “[ ]” ในการระบุชื่อเรื่อง และไม่เว้นวรรคระหว่างวงเล็บปีกกากับตัวอักษร ในส่วนของการส่งใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือการยกเลิกใบกำกับภาษีและส่งใบกำกับภาษีใบใหม่ต้องตั้งหัวข้อแตกต่างกันออกไปเช่นกัน
  8. เมื่อใบกำกับภาษีได้รับการประทับรับรองเวลาแล้ว ระบบจะทำการจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็คทรอนิกส์ที่มีการประทับรับรองเวลาไปยังผู้ออกใบกำกับภาษี และผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ซึ่งถือว่าเป็นใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง

 

ปัจจุบัน กม.ไม่ได้บังคับให้เข้าใช้ระบบ E-TAX Invoice นะครับ แต่ถือเป็นหนึ่งใน “ทางเลือก” ที่ธุรกิจจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้

หลักการของภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นเรื่องของ “ความรับผิด” ซึ่งระบบ E-TAX invoice จะผ่านระบบและการมีวิธีระบุตัวตนอย่าง Digital Signature ส่วน E-TAX invoice By email จะใช้ Timestamp ในการพิสูจน์จุดที่ออกใบกำกับภาษีค่ะ

4. ความแตกต่างของระบบ E-TAX invoice และ E-TAX invoice By Email แนะนำให้ดูรูปประกอบที่พรี่หนอมทำเพิ่มเติมได้ครับ เป็นการอธิบายความแตกต่างและรายละเอียดให้เข้าใจชัดเจนมากขึ้นจ้า

5. ข้อสังเกตของ E-TAX invoice By Email มีดังนี้ค่ะ

• ให้ระวังเรื่องของการส่งใบกำกับภาษีให้กับอีเมล์ตัวเองแทนอีเมล์ลูกค้า เพราะว่าจะไม่ถือว่าเป็นการออกใบกำกับภาษี และจะมีความผิดในฐานออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกนะค่ะ
• ถ้าไม่สามารถสร้างใบกำกับภาษี PDF ที่เป็น A-3 เองได้ สามารถสร้างผ่าน App ที่ทาง ETDA ทำได้นะครับ มีอำนวยความสะดวกให้

เพิ่มเติม : A-3 คือประเภทของ File PDF ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถฝังข้อมูล XML ที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารอ่านข้อมูลได้ครับ (อันนี้ไม่รู้รายละเอียดนะครับ แต่คิดว่าคงใช้เพราะซอฟท์แวร์ของกรมจะได้อ่านข้อมูลได้ด้วย เนื่องจาก E-TAX invoice By Email ไม่ต้องส่งข้อมูลซ้ำให้กับกรมสรรพากรค่ะ)

6. ส่วนข้อสังเกตของ E-TAX invoice ปกตินั้น จะมีประเด็น คือ

• เรื่องของการออกในรูปแบบกระดาษได้ ในกรณีที่ลูกค้าต้องการกระดาษ (เหมือนระบบปกติ) แต่ต้องมีข้อความรับรองว่า “เอกสารนี้ได้จัดทําและนําส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
• การยกเลิกใบเก่าออกใบใหม่ จะใช้เล่มใหม่ เลขที่ใหม่ วันที่ใหม่เลย (ต่างจากแบบกระดาษที่ออกใบใหม่วันที่เดิม) แต่ให้มีข้อความว่าออกแทนใบเดิมแทนค่ะ

ขั้นตอนการสมัคร E-Tax Invoice By E-mail

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ http://www.rd.go.th/publish/27659.0.html  เลือก “ยื่นคำขออนุมัติ” ค่ะ
  2. ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก

3. ยืนยันคำขอใช้งาน : tick box เพื่อยอมรับข้อตกลง

4. ระบุข้อมูลบริษัทและอีเมล์ที่ใช้สำหรับติดต่อกับกรมสรรพากรในการยืนยันตัวตน

5. ยืนยันการส่งข้อมูล : กด “บันทึกข้อมูล” 

6. เลือก “พิมพ์แบบ ก.อ.01” ค่ะ

  • พิมพ์แบบ ก.อ.01 โดยให้ผู้มีอำนาจลงนามลงลายมือชื่อ พร้อมตราประทับ
  • เตรียมหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมลายเซ็นและตราประทับ
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามที่ลงลายมือชื่อในแบบ ก.อ.01 ที่มีการลงนามรับรองเอกสารถูกต้อง

หลังจากเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วให้ สแกนเอกสารทั้ง 3 ฉบับในรูปแบบไฟล์ PDF  เพื่อเตรียมอัพโหลดข้อมูลเข้าสู่ระบบในขั้นตอนถัดไป

7. ทางระบบกรมสรรพากรจะจัดส่งอีเมล์เข้ามาให้ตามที่ได้ลงทะเบียนในข้อที่ 4.
กรุณากดยืนยันที่อยู่ E-mail ภายใน 7 วัน ค่ะ

8. เข้าสู่เว็บไซต์ http://www.rd.go.th/publish/27659.0.html >> เลือก “เข้าสู่ระบบ”
จากนั้นกดปุ่ม “อัพโหลดแบบ ก.อ.01 และเอกสาร” ที่ได้จัดเตรียมไว้ 

9.  เมื่อกดปุ่มระบบจะให้ “ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก” 

10. อัพโหลดเอกสารทั้ง 3 ฉบับ >> กดปุ่ม “Browse” เพื่อทำการเลือกเอกสารทั้ง 3 ฉบับ

11. รอการตรวจสอบเอกสารหลักฐานจากกรมสรรพากรประมาณ 15 วัน หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนจะมีการจัดส่งรหัสยืนยัน (Activate Code) มาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้กับกรมสรรพากรเพื่อใช้ยืนยันการสมัคร

12. เมื่อได้รับรหัสยืนยัน (Activate Code) เรียบร้อยแล้ว ให้เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ http://www.rd.go.th/publish/27659.0.html จากนั้นเลือก “ยื่นคำขออนุมัติ”  แล้วกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก และกด “ดำเนินการต่อ

13. กรอกรหัสยืนยัน (Activate Code) ที่ได้จากการจัดส่งจากทางกรมสรรพากร และ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก

14. หลังจากนั้นระบบจะขึ้นหน้าต่างให้ “ตั้งค่ารหัสผ่านใหม่”  โดยจะต้องกำหนดรหัสผ่านตามเงื่อนไขที่ระบุบนหน้าจอ

15. เมื่อกำหนดรหัสผ่านเรียบร้อยแล้วถือว่าขั้นตอนการยื่นคำขอ ก.อ.01 เสร็จสมบูรณ์
ระบบจะแจ้งรหัสผู้ใช้ ได้แก่ “CM + เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก”

การเข้าสู่ระบบ

สำหรับขั้นตอนนี้รบกวนเป็นการใช้อีเมล์ Gmail ในการลงทะเบียน เพื่อทำการผูกกับระบบของกรมสรรพากรนะคะ แนะนำเป็นการใช้งานอีเมล์ใหม่ เพื่อให้เอกสารไม่ปะปนกับเอกสารอื่นๆค่ะ

  1. เข้าสู่เว็บไซต์  http://www.rd.go.th/publish/27659.0.html >> เลือก “เข้าสู่ระบบ
  2. เข้าสู่ระบบด้วยการกรอกรหัสผู้ใช้งาน (CM + เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก และรหัสผ่านที่ตั้งขึ้นเองที่ได้จากขั้นตอนในข้อ 15. 

3. เลือกเมนูด้านซ้าย “บันทึก e-mail Address สำหรับส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์”
ให้ผู้ประกอบการอ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามก่อนทำการบันทึกอีเมล์

4. กดในช่องสี่เหลี่ยมด้านล่างให้ปรากฏเครื่องหมายถูกเพื่อยืนยัน แล้วกดปุ่ม “ดำเนินการต่อ

5. ระบบจะแสดงหน้าจอให้บันทึกข้อมูล E-Mail Address ที่จะใช้ส่งใบกำกับภาษี

5.1 ระบุอีเมลที่ใช้ในการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ :  แบบกรอกทีละอีเมล์
โดยให้บันทึกข้อมูล ดังนี้

  • เลขที่สาขาจำนวน 5 หลัก (กรณีเป็นสำนักงานใหญ่โปรดกรอก “00000”)
  • ชื่อสถานประกอบการ (ชื่อสาขา)
  • ระบุอีเมล์ที่ต้องการใช้ในการส่งใบกำกับภาษีในช่อง “หมายเลขอีเมล์” และระบุอีเมล์เดิมอีกครั้งเพื่อเป็นการยืนยันในช่อง “หมายเลขอีเมล์อีกครั้ง” หลังจากนั้นกดปุ่ม “เพิ่ม” (อีเมล์ที่ลงทะเบียนใช้งานในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นอีเมล์เดียวกันกับที่ใช้ติดต่อกับกรมสรรพากรก็ได้ค่ะ)

*** ระบบจะตรวจสอบ E-Mail ที่ระบุทันที ว่าเป็น E-Mail  ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ ***
เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว จะปรากฏข้อความสีน้ำเงิน “บันทึกข้อมูลสำเร็จ”

กรณี : มีหลายบัญชีในการใช้งานกับเรา แนะนำเป็นการใช้งาน 1 Email ต่อ 1 บริษัทค่ะ
เพื่อให้สะดวกในการตรวจสอบเอกสารย้อนหลังมากยิ่งขึ้นค่ะ

กรณี : ผู้ขายส่งใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อไม่ได้รับอีเมล์ตอบกลับพร้อมไฟล์ประทับเวลาจากระบบ E-Tax Invoice By Email โปรดตรวจสอบที่ การตั้งค่าอีเมล์ขยะของผู้ขาย หรือ ความถูกต้องของ E-Mail ที่ได้แจ้ง 

หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อ RD Intelligence Center 1161 กด 48 ☎️
Email : [email protected]

สามารถดูวิธีการสมัครฉบับเต็มได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ link ด้านล่างนี้ค่ะ

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/eTax/manual-etax-invoiceby-email-110161.pdf

 

Review App : Any.do (โปรแกรมจัดตารางเวลาและปฏิทิน)

สำหรับคนที่มีปัญหาในการจัดการตารางเวลางานที่ยุ่งเหยิง หรืออยากจะหาอุปกรณ์ช่วยในการจัดการตารางงาน ผมขอเสนอแอพ Any.do ไว้เป็นหนึ่งใจดวงใจเลยก็ว่าได้ ด้วยความสามารถที่หลากหลาย สามารถเปลี่ยนภาษาแอฟได้ถึง 28 ภาษา รองรับทั้ง IOS, Andriod, Chrome, Safari ทีนี้เรามาดูกันว่า Any.do มีประวัติยังไง ทำอะไรได้บ้าง

Any.do ได้ถูกก่อตั้งโดย Omer Perchik ซึ่งเป็นชาวอีตาลี และ Yoni Lindenfeld ซึ่งเป็นชาวอิสราเอล และก่อตั้งบริษัทพร้อมกันทั้งสองแห่งด้วยเงินทุนมูลค่ากว่า 4.5 ล้านดอลล่า Any.do เปิดตัวครั้งแรกในระบบ android ปี 2011 มีผู้ดาวโหลด ใน 30 วันแรก ถึง 5 แสนคน ต่อมาลงใน IOS ในปี 2012 ในวันที่ลงแอปสโตว์มีผุ้ดาวโหลดถึง 100,000 ครั้งในวันแรก ซึ่งกว่าจะทำเป็น web app โดยสมบูรณ์ ก็ปี 2014 ซึ่งในปี 2013 Any.do ก็มีผุ้ใช้กว่า 7 ล้านคนทั่วโลก และในปัจจุบัน มีผู้ใช้กว่า 20 บ้านคนทั่วโลก ซึ่งในเวอชั่นล่าสุดนี้ App ก็ได้พัฒนาถึงขั้นจัดการตารางงาน ปฏิทินและระบบ AI ภายใน App เดียวกันอีกด้วย

Feature

Version Free

  • ทำ Task กำหนดล่วงหน้าได้
  • มุมมองแบบ Calendar (Version Web ไม่มี)
  • สร้าง Group Task ได้
  • ใส่สีได้ 1 สี Ver.Premium ใส่สีได้ 7 สี
  • Connect เอาตารางเวลาจาก Siri มาใส่ได้
  • เปลื่ยนสี Theme ได้ 2 สี Ver.Premium ใส่ได้ 6 สี
  • ใส่รูปโปรไฟล์
  • Restore Transections ได้
  • Reset Password แต่ถ้า login Facebook หรือ Gmail ไม่จำเป็น
  • เปลี่ยนภาษาได้ 28 ภาษา
  • ตั้งค่า Badge ว่าจะให้แสดงบนไอคอนแบบไหนได้
  • ตั้งค่าเสียงปลุกได้
  • สำหรับ Version Free จะมีโฆษณาให้ซื้อ Version Premium ตอนเข้า App ตลอด
  • มีทั้งระบบ IOS,Andriod,WEB
  • Ver For Mac มีค้างตอน logIn บ้าง

Version Premium

  • ใส่สี Task ได้ 7 สี
  • Set Location-Based ได้
  • ทำ Task Auto ได้
  • เปลี่ยนสี Theme ได้ 6 สี
  • ตั้งกลุ่ม Task ได้

สำหรับวิธีการใช้งานก็ง่ายแสนง่าย ทำได้โดยการ ล็อกอินผ่าน Facebook, Google หรือผ่าน email

   . 

มาดูหน้าตาของ App.do กันบ้าง เมื่อเปิด App ขึ้นมาก็จะเจอหน้าตาสะอาด ๆ แบบนี้

วิธีใช้ก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่กดปุ่ม + ที่อยู่ตรงล่างขวาก็จะสามารถเพิ่มรายการได้อย่างง่ายดาย

สำหรับเวอรชั่นพรีเมี่ยมคุณสามารถซื้อได้ในราคา 51 บาทต่อเดือนเท่านั้น

Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.anydo

IOS : https://itunes.apple.com/in/app/any.do-to-do-list-planner/id497328576

Desktop : https://web.any.do/

Chrome : https://chrome.google.com/webstore/detail/anydo-extension/kdadialhpiikehpdeejjeiikopddkjem

Slack :https://slack.com/apps/A3LU9DDEU-anydo
Alexa : https://www.any.do/alexa